ไม้ประดับ
ไม้ประดับ
หมายถึงพืชที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม
ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเจริญตาส่วนใหญ่ไม้ประดับมักเป็นพืชดอก
จึงเรียกรวมกันว่า ไม้ดอกไม้ประดับ
ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม้ประดับ ไม่จำเป็นต้องมีดอกก็ได้
เพียงมีใบที่ดูดีหรือมีสีสันสวยงามก็ใช้ได้
ไม้ประดับมีขนาดเล็กหรือขนาดย่อม พอเหมาะแก่พื้นที่จัดตกแต่งอาจปลูกไว้ในกระถาง
ปลูกลงดิน หรือแขวนห้อยไว้ก็ได้ ไม้ประดับมีหลายชนิด ดังเช่น
ไม้ในร่ม
เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโรงเรือนหรือในร่ม
มีทั้ง ‘ไม้ยืนต้น’ เช่น หมากแดง
หนวดปลาหมึก ปาล์มหลายชนิด เป็นต้น ประเภท ‘ไม้พุ่ม’ เช่น พลูด่าง กวนอิม ขิงแดง คล้า จั๋ง วาสนา สาวน้อยประแป้ง หมากผู้หมากเมีย
เอื้องหมายนา อโกลนีมา เป็นต้น ประเภท ‘ไม้คลุมดิน’ เช่น เฟิร์น กำแพงเงิน สับปะรดประดับ เป็นต้น และประเภท ‘ไม้เลื้อย’ เช่น พลูด่าง ฟิโลเดนดรอนโฮย่า เป็นต้น
โดยพันธุ์ไม้เหล่านี้ สามารถอาศัยอยู่ในสภาพร่มเงาได้ดี
พันธุ์ไม้หอม
พันธ์ไม้หอมมีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันยาวนาน
ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายยุคหลายสมัย มีการนำพรรณไม้หอมมาปลูกเลี้ยงกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
แรกเริ่มสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นที่คัดเลือกมาจากป่า เป็นไม้ไทยพื้นเมือง
เช่น จำปี พุด ลำดวน สารภี บุนนาค มะลิ
เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงก็สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพถิ่นที่อยู่ใหม่ได้ดี
ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการนำพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศเข้ามาปลูกในประเทศไทย
ดังปรากฏในหลักฐานทางวรรณคดีที่กล่าวถึงไม้หอมต่าง ๆ ได้แก่ การเวก กระดังงา
กุหลาบมอญ ส้มโอ พุทธชาด พุดซ้อน สายหยุด พิกุล เป็นต้น
ต่อมาความนิยมได้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเข้าพรรณไม้จากต่างประเทศโดยเฉพาะสมัยรัตนโกสินทร์และจนถึงทุกวันนี้
ทำให้ลักษณะของไม้หอมมีหลากหลายชนิดและหลากหลายสกุล
มีทั้งที่เป็นไม้พื้นเมืองหรือกระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น
ไม้หอมวงศ์กระดังงา ไม้หอมวงศ์โมก วงศ์จำปา วงศ์มะลิ วงศ์เข็ม
พันธุ์ไม้หอมที่เกี่ยวกับพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศไทย ได้แก่
กุหลาบควีนสิริกิต์ โมกราชินี จำปีสิรินธร
ไม้มงคล
ต้นไม้บางชนิดจะให้ดอกที่มีสีสันสวยงามและให้คุณประโยชน์
มีไม้บางชนิดที่กำหนดให้เป็นไม้มงคล
จากความเชื่อว่าทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของหรือผู้ปลูก และมีไม้มงคล 9 ชนิด ที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์
ก่อนการสร้างอาคารบ้านเรือน โดยปักไม้มงคลลงพื้นและลงอักขระที่เรียกว่า
หัวใจพระอิติปิโส ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ลงบนท่อนไม้ชนิดละอักขระ
พร้อมทั้งปิดทองทั้ง 9 ท่อน
โดยปักวนจากซ้ายไปขวา(ทักษิณาวรรต) ไม้มงคลทั้ง 9 ชนิด
ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กันเกรา สัก ทองหลาง พยุง ขนุน ทรงบาดาล และไผ่สีสุก
ไม้ดัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น